ผ่าฟันคุด
ผ่าฟันคุด (Tooth Impaction Removal) คือการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ ตามปกติออก ซึ่งฟันนั้นฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้นเมื่อฟั นที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ
ฟันคุด คือฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ ตามปกติ และมักฝังตัวอยู่ที่ขากรรไกรใต้ เหงือกบริเวณกรามซี่ที่สามซึ่งเป็นฟันซี่ที่อยู่ด้านในสุด โดยฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่ พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยปกติแล้วฟันคุดที่เกิดขึ้นอาจโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเมื่อโตขึ้นได้ แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดแรงดันหรือปวดตุบ ๆ ที่บริเวณฟันคุดจนอาจทำให้ต้องผ่าตัดเพื่อนำออก
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ?
การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดเพื่ อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ ตามปกติออก ซึ่งปกติแล้วหากฟันที่ฝังตัวอยู่ นั้นไม่ก่ออาการรุนแรงจนเกินไป ทันตแพทย์จะทำรักษาด้วยการตกแต่งเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือแนะนำในเรื่องการรักษาความสะอาดช่องปากแก่ผู้ป่วยแทน ตัวอย่างเช่น หากมีการอักเสบเล็ก ๆ ที่เหงือกบริเวณด้านหลังของฟั นที่จะทำให้เกิดอาการเจ็บขณะกัดฟัน ทันตแพทย์อาจทำการรักษาเนื้อเยื่อบริเวณที่อักเสบ หรือแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธี แปรงฟัน และให้ผู้ป่วยใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดที่ซอกฟันด้านหน้าและด้านหลังของฟันคุด ซึ่งจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพที่ ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเหงือกอักเสบหรือการติดเชื้อบริเวณรอบ ๆ ฟันคุดได้
ทว่าหากฟันคุดนั้นก่อให้เกิดปัญหา หรือการเอกซเรย์แสดงให้เห็นว่าฟันคุดส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น ๆ อย่างชัดเจน หรือหากมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากฟันคุดก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก โดยสาเหตุที่อาจทำให้ทันตแพทย์ ตัดสินใจผ่าฟันคุดออกมีดังนี้
- สร้างความเสียหายให้กับฟันซี่อื่น ๆ ฟันคุดที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อฟันโดยรอบได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดภายในช่องปาก หรือปัญหาในการกัดได้
- ความเสียหายที่ขากรรไกร ฟันคุดอาจก่อให้เกิดถุงน้ำรอบ ๆ แล้วอาจทำให้บริเวณขากรรไกรนั้นถูกทำลายจนเป็นหลุมและทำลายเส้นประสาทที่บริเวณขากรรไกรได้
- เกิดปัญหาที่ไซนัส ฟันคุดสามารถก่อให้เกิดอาการปวด แรงดัน หรืออาการบวมที่ไซนัส
- เหงือกอักเสบ เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ฟันคุดเกิดการอักเสบ จะทำให้เกิดอาการบวมและยากต่อการทำความสะอาด
- ฟันผุ อาการเหงือกบวมจากฟันคุดจะทำให้ เกิดช่องว่างระหว่างฟัน และทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโต และก่อให้ฟันผุตามมา
- การจัดฟัน ฟันคุดสามารถส่งผลต่อการจัดฟัน จนทำให้ผลลัพธ์จากการจัดฟัน ครอบฟัน หรือการใช้ฟันปลอมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
- การดูแลรักษาหลังการผ่าตัด
การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดแบบผู้ ป่วยนอก ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จ ทั้งนี้หากในการผ่าฟันคุดมี แผลที่ต้องเย็บ ทันตแพทย์จะใช้ไหมละลายในการเย็บบริเวณแผล ไหมชนิดนี้จะละลายไปตามธรรมชาติ พร้อม ๆ กับการสมานตั วของปากแผลภายในเวลาประมาณ 3-5 วัน
หลังจากการผ่าตัดแพทย์อาจใส่ผ้าก๊อซไว้ที่บริเวณปากแผลและให้ ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดและเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นภายใน ซึ่งจะช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรนำออกหากเลือดยังไม่หยุดไหล
ทั้งนี้แผลผ่าฟันคุดจะต้องใช้ เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะเป็นปกติ โดยในระหว่างการพักฟื้นผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- อาการบวมภายในช่องปากและแก้ม อาการบวมนี้จะค่อนข้างรุ นแรงในช่วงวัน2-3แรก หลังจากผ่าตัด จากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งสามารถประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวมได้
- อาการเจ็บบริเวณขากรรไกร อาการจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 7-10 วัน
- อาการปวด หากการผ่าฟันคุดมีความซับซ้อนก็ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดค่อนข้างมาก
- อาการเจ็บแปลบ ๆ หรือชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นจากยาชาที่ตกค้าง หรือเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่บริเวณปลายประสาท
- ในระหว่างการพักฟื้นและรักษาตัว ช่วง 3 วันแรกหลังจากการผ่าฟันคุดจะไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ ควรรับประทานอาหารอ่อน กลืนสะดวก รับประทานอาหารนิ่ม ๆ หรือ อาหารเหลว งดทานรสจัดและของดิบๆสุกๆ
- เมื่อแผลเริ่มสมานตัวแล้วจึงเริ่มสามารถรับประทานอาหารตามปกติ ได้แต่ก็ควรเคี้ยวช้า ๆ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน ซึ่งการกลับมารับประทานอาหารได้ ตามปกติ จะเร็วหรือช้าก็จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองว่ารู้สึกดีขึ้นแล้วหรือยัง
หากในระยะการพักฟื้นหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น
- มีไข้
- กลืนไม่ได้
- หายใจลำบาก
- มีเลือดออกมากผิดปกติ
- มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน
- เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของผลข้ างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาการแทรกซ้อนที่มักจะพบหลั งจากการผ่าฟันคุดคือ
- กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Alveolar Osteitis) – เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้ บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด ซึ่งจะเกิดจากการที่ลิ่มเลื อดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเป็นสาเหตุของอาการปวดหรืออาการปวดตุบ ๆ ที่บริเวณเหงือกหรือขากรรไกรอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจมีกลิ่นและรสไม่ พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน อาการนี้จะกินเวลา 3-5 วันหลังจากผ่าตัด
- อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้ า – เป็นอาการที่อาจพบได้หลังจากการผ่าตัด แต่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก โดยอาการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่ถ้าหากนานกว่านั้น นั่นแปลว่าเส้นประสาทดังกล่าวเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น รับประทานอาหารหรือน้ำได้ลำบาก ดังนั้นผู้ป่วยควรรับทราบความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวก่อนทำการผ่าตัด
นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้เพิ่มเติม เช่น
- ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
- อาการช้ำที่เหงือกหายช้า
- ฟันซี่อื่นได้รับการกระทบกระเทือน
- ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
- โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุ ถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
อีกทั้งการผ่าตัดอาจทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ราคาผ่าฟันคุด 2,500 -3,000 บาท
ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด
การผ่าฟันคุดถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยในโรคดังต่อไปนี้ อาทิ เบาหวาน
โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์อาจจะหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อนจนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่ อนทำการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา